โรคกระดูกพรุน เกิดขึ้นได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ มาดูแลกระดูกของคุณให้ถูกวิธี จะได้ไม่เป็นโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน คืออะไร “รักกระดูก อย่าให้กระดูกหัก”
กระดูกประกอบด้วย โปรตีน คอลลาเจน และ แคลเซียม ซึ่งแคลเซียมฟอสเฟตเป็นตัวทำให้กระดูกแข็งแรง ทนต่อแรงกระแทกหรือดึงรั้ง กระดูกมีการสร้างและสลายตัวอยู่ตลอดเวลา
ขณะที่มีการสร้างกระดูกใหม่โดยใช้แคลเซียมจากอาหารที่กินเข้าไป ก็จะมีการสลายแคลเซียมในเนื้อกระดูกเก่าออกมาในเลือดและถูกขับออกมาทางปัสสาวะและอุจจาระ
เด็ก กับ ผู้ใหญ่ ใครกระดูกแข็งแรกกว่ากัน?
ปกติในเด็กจะมีการสร้างกระดูกมากกว่าการสลาย ทำให้กระดูกมีการเจริญเติบโตมวลกระดูกจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนมีความหนาแน่นสูงสุด เมื่ออายุประมาณ 30-35 ปี หลังจากนั้นจะเริ่มมีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้าง ทำให้กระดูกค่อยๆ บางตัวลงตามอายุที่มากขึ้น

ผู้ชาย กับ ผู้หญิง เกิดโรคกระดูกพรุนแตกต่างกันหรือไม่?
ผู้ชายจะเกิดภาวะกระดูกพรุนช้ากว่าผู้หญิงโดยเฉลี่ยประมาณ 10 ปี โดยผู้ชายจะมีอัตราการลดลงของมวลกระดูก 1-2% ต่อปี ในผู้หญิงช่วงหลังวัยหมดประจำเดือนจะมีอัตราการลดลงของมวลกระดูก 3-5 % ต่อปี
ซึ่งเกิดจากการลดลงของของฮอร์โมนเอสโตรเจนแคลเซียมในเนื้อกระดูก เมื่อพร่องฮอร์โมนชนิดนี้ก็จะทำให้กระดูกบางตัวลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดภาวะกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่จึงเกิดจากภาวะหมดประจำเดือนในผู้หญิง ในช่วง 10 ปีแรกหลังหมดประจำเดือนจะมีการสลายของกระดูกเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และความเสื่อมตามอายุที่มีการสะสมอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยาวนาน ของการเสียสมดุลระหว่างการสร้างและการสลายของกระดูก พบได้ทั้งชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า 75 ปี
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คืออะไร
โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่เนื้อกระดูกลดลงและโครงสร้างของกระดูกเสื่อมลง มีผลให้เกิดกระดูกอ่อนแอ เปราะบาง หักง่าย
โรคกระดูกพรุนมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตหรือไม่?
จากการศึกษาพบว่า อัตราการเสียชีวิตใน 1 ปี หลักจากกระดูกสะโพกหักในผู้หญิงสูงอายุ พบสูงเกือบ 20% สำหรับผู้ที่รอดชีวิตพบว่าเกือบ 80% ไม่สามารถปฎิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างน้อยหนึ่งอย่างได้ และเกือบ 30% มีความพิการแบบถาวร
กระดูกเราแข็งแรงหรือเปล่า และกระดูกหักง่ายหรือไม่?
บุคคลที่มีปัจจัยข้างล่างนี้มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหัก ได้แก่
- ผู้หญิงอายุมากกว่า 65 ปี ผู้ชายที่อายุมากกว่า 75 ปี
- ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี ผู้ชายอายุน้อยกว่า 75 ปี แต่มีปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้
2.1 เคยกระดูกหักง่ายมาก่อน
2.2 ใช้ยาสเตอรอยด์ หรือ สารที่มีส่วนผสมของสเตอรอยด์ เช่น ยาลูกกลอน ยาฉีดสเตอรอยด์ ครีมทาสเตอรอยด์
2.3 มีประวัติหกล้ม
2.4 มีประวัติครอบครัวกระดูกสะโพกหัก
2.5 มีสาเหตุอื่นของโรคกระดูกพรุน เช่น
- น้ำหนักตัวน้อย
- สูบบุหรี่ หรือ ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
- โรคต่อมไร้ท่อบางชนิด

อาการของโรคกระดูกพรุนเป็นอย่างไร
ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการแสดงจนกระทั่งเกิดภาวะกระดูกหัก ก็จะเกิดอาการเจ็บปวด หรือความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก เช่น ปวดข้อมือ สะโพก หรือหลัง เนื่องจากกระดูกข้อมือ สะโพก หรือสันหลังแตกหัก
ส่วนสูงลดลงจากเดิม เนื่องจากการหักและยุบตัวของกระดูกสันหลัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว เป็นต้น
หากเป็นโรคกระดูกพรุนแล้วจะมีการรักษาอย่างไร
มียาหลายชนิดที่มีหลักฐานทางการแพทย์ว่าสามารถรักษา โรคกระดูกพรุนซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสม
1 รับประทานแคลเซียมและวิตามินดี ให้พอเพียง
2 ยาป้องกันการสลายกระดูก ได้แก่ ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต และ ฮอร์โมนเพศหญิง
3 ยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ ได้แก่ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์
4 ยาที่ออกฤทธิ์ป้องกันการสลายกระดูกและกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ ได้แก่ วิตามินดี เป็ฯต้น
5 ระมัดระวังการหกล้ม หรืออุบัติเหตุ เพราะจะทำให้กระดูกหักได้ โดยแก้ไขภาวะต่างๆ ที่ผิดปกติของร่างกายที่ทำให้เกิดการหกล้มหรืออุบัติเหตุ เช่น
- แก้ไขภาวะความดันต่ำเวลาเปลี่ยนท่า
- แก้ไขปัญหาสายตามัว เช่น ต้อกระจก
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้ง่วงนอน หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น ยากล่อมประสาท
- ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย เช่น บันไดขึ้นลง แสงสว่างห้องน้ำ พื้นต่างระดับ ราวเกาะยึด เป็นต้น

วิธีป้องกัน การเกิดโรคกระดูกพรุนและกระดูกหัก
1 รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง อย่างสม่ำเสมอ
2 ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดิน การวิ่ง เต้นแอโรบิก กระโดดเชือก รำมวยจีน เต้นรำ เป็นต้น ร่วมกับการยกน้ำหนัก จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงทั้งกระดูกและกล้ามเนื้อ
3 รับแสงแดด ช่วยให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ควรจะออกไปรับแสงแดดอ่อนๆ ยามเช้า หรือยามเย็น วันละ 10-15 นาที
4 รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์
5 หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน เช่น ไม่ดื่มน้ำอัดลมปริมาณมาก เพราะกรดฟอสฟอริกในน้ำอัดลมทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ งดการสูบบุหรี่
6 ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน ในผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนหรือกระดูกหัก
กระดูกเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างกายของเรา หมั่นดูแลตัวเอง และดูแลกระดูกของคุณให้ดี “รักกระดูก อย่าให้กระดูกหัก” นะค่ะ ขอให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงทุกท่านค่ะ
ดูอะไรต่อดี
1 รักษาอาการเข่าเสื่อม ด้วยสมุนไพรไทย
————————————————————————–
ร้านค้าออนไลน์| แนะนำสินค้า
สินค้าไอที และเรื่องราวของสุขภาพ
ติดตามอ่านได้ที่
ขอบคุณค่ะ